วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 30/08/2554

          สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ให้กลับไปแก้ไข/ปรับปรุงนำมาส่ง และให้ส่งโครงการที่ให้ไปทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำโครงการ เรื่อง "รถ" จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายสาเหตุที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำว่า ขวดสามารถหาได้ง่าย  เป็นของเหลือใช้  และเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา นอกจากนั้นแล้วขวดยังสามารถขาย เพื่อสร้างเป็นรายได้ ได้อีกด้วย  ขวดน้ำเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบตัวสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม   อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การทำโครงการ  พูดถึงเรื่องการทำโครงการของแต่ละกลุ่ม     และได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ ประกอบไปด้วย สาระ/ความรู้  ประสบการณ์สำคัญ  วิธีการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการของเด็ก  จากนั้นสอนการเขียนหน่วย  และอาจารย์ให้เอากระดาษคนละ 1 แผ่น มาแยกเป็น Mind Mapping ในเรื่องของหน่วยที่เราจะสอน และให้เขียนเปรียบเทียบกับการเขียนชื่อเพื่อนที่เราชอบ 1 คน เพื่อที่เราจะเขียนหน่วยแต่ละหน่วยที่จะสอนได้ง่ายขึ้น

งานที่ได้รับมอบหมาย 
    1.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้เขียนแผน 5 วัน คิดกิจกรรมที่จะสอนเด็ก โดยให้เขียนชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละวันด้วย และนำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป
    2.อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปลงบล็อก
บรรยากาศในวันนี้ เย็นสบายดี ไม่ร้อน และรู้สึกว่า สนุกกับการเรียนในวันนี้ค่ะ


สรุปโทรทัศน์ครู  เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการ อ.วรนาท รักสกุลไทย, อ.ศศกมล บูรัชฏะ   http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=777
          การสอนแบบ Project จะตอบสนองความสามารถที่หลากหลายของเด็กได้ เด็กแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน เช่น เด็กบางคนจะถนัดทางด้านศิลปะ บางคนถนัดทางด้านดนตรี บางคนถนัดเรื่องมิติสัมพันธ์ บางคนเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ และเด็กบางคนไม่รู้ศักยภาพของตนเอง หรือความสามารถของตนเอง ซึ่ง Project จะทำให้เด็กนั้นได้แสดงความสามารถของตนเองออกมาได้ การสอนแบบ Project Approach นั้นหมายถึงการสอนแบบลุ่มลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจนที่เด็กสนใจเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อย หรือพร้อมกันทั้งห้องก็สามารถทำได้
 การสอนแบบ Project  มี 5 ลักษณะ คือ
    1.การอภิปราย
    2.การนำเสนอประสบการณ์เดิม
    3.การทำงานภาคสนาม
    4.การสืบค้น
    5.การจัดแสดง
การสอนทุกครั้งครูต้องออกแบบกิจกรรม และกิจกรรมต้องจัดจากง่ายไปหายาก ไม่ซับซ้อน ทุกกิจกรรมที่ออกแบบต้องดูความสนใจของเด็กเป็นหลักด้วย การเลือกหัวเรื่องที่จะเรียนต้องอยู่ระหว่างความร่วมมือระหว่างเด็ก ครู และที่บ้านด้วย และในกรณีที่ทำกันทั้งห้อง หัวข้อที่เลือกไม่ใช่เฉพาะมาจากการโหวตของเด็กเท่านั้น แต่จะต้องดูว่าเด็กมีความต้องการ เป็นความสนใจของเด็กเสียส่วนใหญ่ ครูจะต้องมีส่วนร่วมคือ ครูต้องศึกษาก่อนว่าเรื่องที่เรียนนั้นสอดคล้องกับหลักสูตรหรือไม่ และต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่ให้เด็กสามารถสืบค้นได้ รวมทั้งมีวิทยากรให้ความรู้แก่เด็ก มีสถานที่ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 3-4 วัน  เพื่อที่จะได้เรื่องที่เด็กอยากเรียนจริงๆ  และจากเลือหัวข้อแล้วครูต้องรวบรวมข้อมูลว่าสิ่งที่เด็กรู้แล้วมีอะไรบ้าง นั้นคือการทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก และการเล่าประสบการณ์เดิมนั้นต้องต้องเกิดขึ้นกับเด็กจรองๆ  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูควรเปิดโอกาสหลากหลายให้เด็กได้เล่าประสบการณ์เดิม สิ่งสุดท้ายในระยะเริ่มต้น คือ การตั้งประเด็นคำถาม  และครูต้องนำคำถามของเด็กมาวิเคราะห์ด้วย ต้องมีการเตรียมการว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง และเปิดโอกาสให้เด็กได้เสนอกิจกรรมด้วย  ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา คือการคิดค้นว่าจะไขคำตอบได้อย่างไร เช่น มีการสังเกต และมีการทำจดหมายถึงพ่อแม่ของเด็กด้วย ว่าลูกเขากำลังเรียนเรื่องอะไรอยู่ และบอกให้ผู้ปกครองสนับสนุนการเรียนของลูกด้วย และการเรียนแบบProject Approach นั้นไม่ใช่เรียนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่เด็กจะต้องมีการไปเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงมากที่สุด เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ และฝึกให้เด็กได้คิด ได้วางแผน ได้ตัดสินใจ คิดเป็น และที่สำคัญเด็กได้ลงมือผ่านการกระทำจริงๆ  ระยะที่ 3 การจัดนิทรรศการ คือ การจัดกิจกรรมต่างๆที่เด็กเรียนมาทั้งหมดมาจัดนิทรรศการ นอกจากนี้ครูต้องเข้าใจบทบาทตัวเองในการสอน Project ว่า ครูคือผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ และครูต้องคิดว่าตัวเองทำได้ และทำตัวให้สนุกกับกิจกรรมที่สอนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น