วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 20/09/2554

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานการเขียนแผนที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว แล้วอาจารย์บอกว่าเพื่อนที่โพสว่า อาจารย์สอนเรื่อง Project ในครั้งที่แล้ว ให้เปลี่ยนเป็น การสอนเรื่องโครงการ  วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง การเขียนแผน และยกตัวอย่างการเขียนแผน เรื่อง ดอกไม้ให้ฟัง จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับ ประสบการณ์สำคัญ ว่าต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และฝึกให้เด็กได้สังเกต  จำแนก  ขนาด และที่สำคัญ (ต้องออกมาเป็นพฤติกรรม เด็กลงกระทำ)  และอาจารย์สนทนา พูดคุยร่วมกันเกี่ยวกับการเขียนแผนของแต่ละคน และให้คำแนะนำในการเขียนแผนในขั้นนำว่า  ให้สอนเป็นคำคล้องจอง หรือปริศนาคำทาย ก็ได้  และในช่องวัตถุประสงค์อาจารย์ให้คำแนะนำอีกว่า หากเขียนว่า สามารถ ให้เปลี่ยนเขียนว่า บอก เช่น เด็กสามารถบอกชื่อของดอกไม้ได้ เป็น เด็กบอกชื่อดอกไม้ได้ เพราะถ้าเราเขียนคำว่า สามารถ ก้อแปลว่าเด็กทำได้แล้ว  จากนั้นขณะที่อาจารย์สอน และเพื่อนๆนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียนนั้นมีเพื่อนเป็นลมในห้อง อาจารย์ และเพื่อนๆตกใจ จึงช่วยกันพัดลม และเอายาดมให้เพื่อนดม จึงพาเพื่อนไปโรงพยาบาล อาจารย์จึงหยุดการเรียนไว้แค่นี้ก่อน

บรรยากาศในห้องวันนี้ ร้อนนิดหน่อย ไม่ค่อยครื้นเครง ไม่ค่อยมีเสียงหัวเราะ และยังมีเรื่องให้ตกใจ ความรู้สึกในวันนี้ ดิฉันรู้สึกว่าตกใจที่เพื่อนเป็นลม และรู้สึกว่าตัวดิฉันเอง และเพื่อนมึนๆ งง ไม่ค่อยมีความพร้อมในการเรียนมากนัก แต่อาจารย์ถามนักศึกษา ว่าไม่เข้าใจตรงไหน  อาจารย์สนใจนักศึกษา และพยายามสอน อธิบายนักศึกษาให้เข้าใจ ดิฉันรู้สึกดีใจที่อาจารย์ให้ความใส่ใจนักศึกษาทุกคนค่ะ

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 13/09/2554

สรุปเนื้อหาเป็น  Mind Mapping ดังนี้




        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไป และบอกว่าการทำ Mind Mapping นั้น จะต้องมีสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย คือ
  1.สิ่งที่สัมพันธ์กับตัวเด็ก
  2.สิ่งที่มีผลกระทบกับเด็ก คือ
     - สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็ก  เช่น ได้รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง รูปทรง
     - บุคคลและสถานที่  เช่น ได้รู้จัก ครอบครัว ญาติ  รู้จักสถานที่ เช่น ชุมชน สังคม วัฒนธรรม
     - ธรรมชาติรอบตัว  เช่น ได้รู้จัก สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต  คุณสมบัติ  การสำรวจ
     - สิ่งต่างๆรอบตัว เช่น ได้รู้จัก วัตถุสิ่งของ  เครื่องใช้ต่างๆ  ของเล่น
  3.ทำไมเนิ้อหาต้องเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก คือ
     - เด็กสามารถเข้าใจ
     - เป็นรูปธรรม จับต้องได้
     - เป็นประสบการณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และอาจารย์ได้ถามคำถามว่า สาระการเรียนรู้ คืออะไร อาจารย์ และเพื่อนๆได้สนทนา แสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้อง และอาจารย์ได้บอกอีกว่าสิ่งที่สำคัญนั้นก่อนที่จะนึกถึงสังคม เราต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อน จากนั้นอาจารย์ได้สอนเรื่อง ทักษะทางวิทยาศาสตร์  อาจารย์ถามว่าการนำเข้าสู่บทเรียนแต่ละ 6 กิจกรรมหลักมีกิจกรรมอะไรบ้าง เพื่อนๆได้แสดงความคิดเห็นดังนี้

การบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิทยาศาสตร์
   1. เคลื่อนไหวและจังหวะ
   2. ศิลปะสร้างสรรค์
   3. เกมการศึกษา เช่น ภาพเรียงลำดับ จับคู่ภาพกับเงา ร็อดโต้
   4. เล่นเสรี เช่น เล่นมุมต่างๆ มุมบทบาทสมมุติ
   5. กลางแจ้ง  เช่น เล่นน้ำ  เล่นทราย
   6. เสริมประสบการณ์
   อาจารย์ถามนักศึกษาว่า กิจกรรมไหนที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ และได้พูดถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  1. ตั้งสมมุติฐาน
  2. ปฏิบัติ หรือ การสังเกต ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  3. เก็บข้อมูล
  4. บันทึกผล
  5. สรุป เพื่อดูที่สมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่
จากนั้น อาจารย์ได้พูดถึงการทำหน่วยในการเขียนแผน ว่า แต่ละวันมีอะไรบ้าง จะเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  - วันจันทร์ จะต้องพูดเกี่ยวกับตัวตน ลักษณะ
  - วันอังคาร  เกี่ยวกับ ที่มา
  - วันพุธ  เกี่ยวกับ  ประโยชน์
  - วันพฤหัสบดี เกี่ยวกับ  โทษ
  - วันศุกร์  เกี่ยวกับ  การดูแลรักษา
และอาจารย์ยกตัวอย่างการเขียนแผน เรื่อง เห็ด ให้นักศึกษาดู พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผน

งานที่ได้รับมอบหมาย  อาจารย์ให้เขียนแผนเป็นรายบุคคล และนำมาส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป
บรรยากาศในวันนี้   ไม่ร้อนมากนัก อากาศเย็นพอเหมาะรู้สึกสบาย ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ดิฉันรู้สึกว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการทำ Mind Mipping มากขึ้น และได้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนค่ะ อีกทั้งดิฉันยังสนุกกับการเรียนในวันนี้ด้วยค่ะ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 06/09/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว คือ คิดหน่วย และการเขียนกิจกรรมในแต่ละวัน  แต่มีปัญหานิดหน่อยในการส่งงานครั้งนี้ คือ เพื่อนๆอาจจะไม่เข้าใจคำสั่งที่อาจารย์ได้สั่งไป จึงทำให้งานแต่ละกลุ่มที่นำมาส่งนั้นไม่เหมือนกัน โดยคำสั่งแท้จริงแล้ว อาจารย์ให้ทำงานการเขียนกิจกรรมออกมาในรูปแบบของ Mind Mapping  และกลุ่มไหนที่ไม่มี Mind Mapping  ก็ให้ทำเพิ่มเติมมาส่งในคาบถัดไปด้วย นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ที่จะได้ทั้งทักษะและความรู้ในกิจกรรมเดียวกันด้วย และอาจารย์ทบทวนเรื่องเดิมที่เรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ให้ทำ Mind Mapping แล้วคิดกิจกรรมเป็นกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ได้ถาม เรื่องการบ้านที่ฝากถามไปว่า สาระสำคัญในหลักสูตรมีอะไรบ้าง แต่ไม่มีใครตอบ และอาจารย์ได้ถามต่ออีกว่า หลักสูตรหมายถึงอะไร แต่ไม่มีใครตอบเหมือนเดิม อาจารย์จึงให้ไปเขียนหลักสูตรปฐมวัยมา ว่ามีอะไรบ้าง   จากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดีทัศน์ เรื่อง "ความลับของแสง" ดิฉันสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ว่า แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นในทะเล แต่แสงเดินทางเร็วมาก เดินทางได้เร็วถึง 300,000 กม./นาที เมื่อไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็น แต่การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้นั้น เพราะแสงมาส่องกับวัตถุต่างๆ และแสงสะท้อนมากระทบตาเรา ตาเป็นเลนส์ในการรับแสง เราจึงเห็นสิ่งต่างๆได้  แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียว และไม่มีทิศทาง

วัตถุของแสงมี 3 ชนิด คือ
  1. แสงที่ทะลุผ่านไปได้ เรียกว่า วัตถุโปรงแสง
  2. แสงสะท้อนมาที่ตัวเรา เรียกว่า วัตถุโปรงใส
  3. แสงที่ไม่สามารถผ่านได้ เรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน เหล็ก รวมถึงตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสงด้วย  สาเหตุที่สามารถแยกเป็นวัตถุโปรงแสงได้ เพราะ เราจะมองเห็นภาพบางส่วนแต่มองไม่ชัด  สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุโปรงใส เพราะ วัตถุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมด ที่เรามองเห็นได้ทุกส่วน เช่น กระจก สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุทึบแสง เพราะ แสงไม่สามารถส่องผ่านวัตถุเหล่านั้นได้ นอกจากนั้นแล้วตาของเราจะมีรูเล็กๆ ที่เรียกว่า รู้รับแสง

การสะท้อนของแสง>> เมื่อเรานำตุ๊กตามาวางไว้หน้ากระจก ที่มีกระจก 2 บานต่อกัน เราจะเห็นภาพตุ๊กตา 2 ตัว แต่ถ้าเราเลื่อนกระจกให้เข้ามาอีกก็จะเห็นตุ๊กตาเพิ่มขึ้นมาอีกหลายๆตัว

การหักเหของแสง>> แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อ แสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิดกันจึงทำให้แสงนั้นหักแห

แสงสีขาว>> แสงสีขาวที่เรามองเห็นนั้นจะมีทั้งหมด 7 สี ประกอบด้วย สีแดง เหลือง แสด เขียว คราม ม่วง และสีน้ำเงิน สาเหตุที่ทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำมีหลายสี นั่นก็เพราะแสงในอากาศเป็นสีขาว เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศจึงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำที่มีสีต่างๆอย่างที่เราเห็น  และถ้าเรามองใบไม้ เราจะเห็นใบไม้มีสีเขียว เกิดจากแสงกระทบกับวัตถุ และดูดสีอื่นเข้ามา แล้วแสงมากระทบที่ตาเรา จึงทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว

เงากับแสงเป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ >> ถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงา แต่ถ้าเราส่งไฟไปหลายๆด้านจะทำให้เกิดเงาหลายๆด้าน

งานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ให้เขียน "หลักสูตรปฐมวัย" ว่ามีอะไรบ้าง แล้วนำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป
บรรยากาศในวันนี้  อากาศไม่หนาวมากนัก  บรรยากาศการเรียนการสอนค่อนข้างตึงเครียดมาก ดิฉันรู้สึกเข้าใจเรื่อง แสง มากขึ้น และไม่ค่อยสนุกกับการเรียน เนื้อหาที่นำมาสอนสามารถเข้าใจได้ง่าย และมีประโยชน์ต่อดิฉันมากค่ะ  ดิฉันรู้สึกง่วงนอนนิดหน่อยค่ะ