วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 30/08/2554

          สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ให้กลับไปแก้ไข/ปรับปรุงนำมาส่ง และให้ส่งโครงการที่ให้ไปทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำโครงการ เรื่อง "รถ" จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายสาเหตุที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำว่า ขวดสามารถหาได้ง่าย  เป็นของเหลือใช้  และเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา นอกจากนั้นแล้วขวดยังสามารถขาย เพื่อสร้างเป็นรายได้ ได้อีกด้วย  ขวดน้ำเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบตัวสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม   อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การทำโครงการ  พูดถึงเรื่องการทำโครงการของแต่ละกลุ่ม     และได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ ประกอบไปด้วย สาระ/ความรู้  ประสบการณ์สำคัญ  วิธีการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการของเด็ก  จากนั้นสอนการเขียนหน่วย  และอาจารย์ให้เอากระดาษคนละ 1 แผ่น มาแยกเป็น Mind Mapping ในเรื่องของหน่วยที่เราจะสอน และให้เขียนเปรียบเทียบกับการเขียนชื่อเพื่อนที่เราชอบ 1 คน เพื่อที่เราจะเขียนหน่วยแต่ละหน่วยที่จะสอนได้ง่ายขึ้น

งานที่ได้รับมอบหมาย 
    1.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้เขียนแผน 5 วัน คิดกิจกรรมที่จะสอนเด็ก โดยให้เขียนชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละวันด้วย และนำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป
    2.อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปลงบล็อก
บรรยากาศในวันนี้ เย็นสบายดี ไม่ร้อน และรู้สึกว่า สนุกกับการเรียนในวันนี้ค่ะ


สรุปโทรทัศน์ครู  เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการ อ.วรนาท รักสกุลไทย, อ.ศศกมล บูรัชฏะ   http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=777
          การสอนแบบ Project จะตอบสนองความสามารถที่หลากหลายของเด็กได้ เด็กแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน เช่น เด็กบางคนจะถนัดทางด้านศิลปะ บางคนถนัดทางด้านดนตรี บางคนถนัดเรื่องมิติสัมพันธ์ บางคนเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ และเด็กบางคนไม่รู้ศักยภาพของตนเอง หรือความสามารถของตนเอง ซึ่ง Project จะทำให้เด็กนั้นได้แสดงความสามารถของตนเองออกมาได้ การสอนแบบ Project Approach นั้นหมายถึงการสอนแบบลุ่มลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจนที่เด็กสนใจเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อย หรือพร้อมกันทั้งห้องก็สามารถทำได้
 การสอนแบบ Project  มี 5 ลักษณะ คือ
    1.การอภิปราย
    2.การนำเสนอประสบการณ์เดิม
    3.การทำงานภาคสนาม
    4.การสืบค้น
    5.การจัดแสดง
การสอนทุกครั้งครูต้องออกแบบกิจกรรม และกิจกรรมต้องจัดจากง่ายไปหายาก ไม่ซับซ้อน ทุกกิจกรรมที่ออกแบบต้องดูความสนใจของเด็กเป็นหลักด้วย การเลือกหัวเรื่องที่จะเรียนต้องอยู่ระหว่างความร่วมมือระหว่างเด็ก ครู และที่บ้านด้วย และในกรณีที่ทำกันทั้งห้อง หัวข้อที่เลือกไม่ใช่เฉพาะมาจากการโหวตของเด็กเท่านั้น แต่จะต้องดูว่าเด็กมีความต้องการ เป็นความสนใจของเด็กเสียส่วนใหญ่ ครูจะต้องมีส่วนร่วมคือ ครูต้องศึกษาก่อนว่าเรื่องที่เรียนนั้นสอดคล้องกับหลักสูตรหรือไม่ และต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่ให้เด็กสามารถสืบค้นได้ รวมทั้งมีวิทยากรให้ความรู้แก่เด็ก มีสถานที่ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 3-4 วัน  เพื่อที่จะได้เรื่องที่เด็กอยากเรียนจริงๆ  และจากเลือหัวข้อแล้วครูต้องรวบรวมข้อมูลว่าสิ่งที่เด็กรู้แล้วมีอะไรบ้าง นั้นคือการทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก และการเล่าประสบการณ์เดิมนั้นต้องต้องเกิดขึ้นกับเด็กจรองๆ  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูควรเปิดโอกาสหลากหลายให้เด็กได้เล่าประสบการณ์เดิม สิ่งสุดท้ายในระยะเริ่มต้น คือ การตั้งประเด็นคำถาม  และครูต้องนำคำถามของเด็กมาวิเคราะห์ด้วย ต้องมีการเตรียมการว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง และเปิดโอกาสให้เด็กได้เสนอกิจกรรมด้วย  ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา คือการคิดค้นว่าจะไขคำตอบได้อย่างไร เช่น มีการสังเกต และมีการทำจดหมายถึงพ่อแม่ของเด็กด้วย ว่าลูกเขากำลังเรียนเรื่องอะไรอยู่ และบอกให้ผู้ปกครองสนับสนุนการเรียนของลูกด้วย และการเรียนแบบProject Approach นั้นไม่ใช่เรียนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่เด็กจะต้องมีการไปเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงมากที่สุด เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ และฝึกให้เด็กได้คิด ได้วางแผน ได้ตัดสินใจ คิดเป็น และที่สำคัญเด็กได้ลงมือผ่านการกระทำจริงๆ  ระยะที่ 3 การจัดนิทรรศการ คือ การจัดกิจกรรมต่างๆที่เด็กเรียนมาทั้งหมดมาจัดนิทรรศการ นอกจากนี้ครูต้องเข้าใจบทบาทตัวเองในการสอน Project ว่า ครูคือผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ และครูต้องคิดว่าตัวเองทำได้ และทำตัวให้สนุกกับกิจกรรมที่สอนด้วย

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 23/08/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับหลักการจัดกิจกรรม และเรื่องการทำโครงการแบบ Project การทำโครงการนั้นมี 3 ระยะ
ระยะที่1>>ระยะเริ่มต้น
ระยะที่2>>ศึกษาแบบลุ่มลึก
ระยะที่3>>นำเสนอ

ถามเด็กว่าอยากรู้เรื่องอะไร มีวิธีการดังนี้
     1.ให้เด็กเสนอความคิด แล้วค่อยเขียนกำกับด้านหลังว่าเป็นของใคร
     2.หรือบอกเป็นเรื่องเดียวแล้วจึงค่อยแตกเป็น Mind Mapping ให้หลากหลายเพื่อให้เด็กได้ตอบหรือเสนอความคิดว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องที่เด็กอยากรู้เป็นเรื่อง นาฬิกา มีองค์ประกอบหัวข้อต่างๆๆไว้ดังนี้ ทำมาจากไหน ,ลักษณะเป็นอย่างไร ,นาฬิกาเสียไปหาใคร ,ประโยชน์ ,วัสดุ ,สี ,มีโล,โก้อะไรบ้าง ,ประเภท ขนาด ,รูปทรง ,ราคา เป็นต้น และดิฉันได้สรุปเป็น Mind Mapping ไว้ดังนี้



 
ตัวอย่างการเขียนการทำโครงการเรื่อง กระเป๋า
ระยะที่1>>ระยะเริ่มต้น (อยากรู้เรื่องอะไร)
1.มีสีอะไรบ้าง                         6.ทำจากอะไร
2.มีรูปทรงอย่างไร                   7.มีประเภทไหนบ้าง
3.มีขนาด                                8.ถ้าขาดแล้วทำอย่างไร
4.ราคาเท่าไหร่                       9.วัสดุที่ใช้
5.มีขายที่ไหน                        10.ประโยชน์

ระยะที่2>>ศึกษาแบบลุ่มลึก (สถานที่)
1.ห้องสมุด-Internet
2.สถานที่
3.ร้านซ่อมกระเป๋า
4.ช่างซ่อมกระเป๋า
5.โรงงานผลิต

ระยะที่3>>นำเสนอ
1.จัดนิทรรศการ >>เด็กได้อธิบาย แนะนำ
2.งานประดิษฐ์กระเป๋า >>เด็กอธิบาย และได้ให้ผู้เข้าชมร่วมประดิษฐ์
3.โล้โก้ >>เด็กอธิบายว่ามียี่ห้ออะไรบ้าง
4.แผนที่การเดินทาง >>เด็กได้เรียนรู้เรื่องเส้นทาง ทิศทาง สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์
5.ส่วนประกอบของกระเป๋า >>เด็กอธิบายว่าส่วนประกอบของกระเป๋านั้นมีอะไรบ้าง
6.ซ่อมกระป๋าได้อย่างไร >>เด็กอธิบายว่าซ่อมแซมวิธีไหนได้บ้าง
7.นำเสนอเพลงกระเป๋า >>เด็กแต่งเพลงเกี่ยวกับกระเป๋า
8.นิทานกระเป๋า >>มีการเล่านิทานเกี่ยวกับกระป๋าและตั้งชื่อเรื่องนิทาน เช่น กระเป๋าเพื่อนรัก

จากนั้นอาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไป คือ ประดิษฐ์ของเล่นที่ทำจากขวดน้ำ และอาจารย์ให้นำกลับไปแก้ไขเพิ่ม แล้วอาจารย์ตรวจบอร์ดของแต่ละกลุ่ม เรื่อง การรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ และสิ่งเสพติด กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำ เรื่อง บุหรี่

งานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ5คน ทำ Project 1 เรื่อง แต่ไม่ต้องลงกับเด็ก และนำมาส่งในสัปดาห์หน้า
บรรยากาศในวันนี้ ไม่ร้อนมากนัก บรรยากาศดี ครื้นเครง วันนี้ดิฉันรู้สึกสนุกสนานกับการเรียน และยังได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำโครงการที่ดิฉันเข้าใจอีกด้วย และสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9 16/08/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับของเล่นของแต่ละคน และอาจารย์ทดสอบความแข็งแรงของเล่นของแต่ละคนว่าแข็งแรงหรือเปล่า อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ต้องทำให้แข็งแรงเพราะว่าเด็กเขาจะเล่นแรงๆและเดี๋ยวมันจะพังง่าย  และอาจารย์ยังแนะนำอีกว่าให้มีหลายรูปแบบ เพื่อเด็กจะได้สงสัยและถาม  นอกจากนี้บอกว่าต้องมีข้อความรู้ในบล็อก พร้อมทั้งต้องมีคำอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันด้วย งานประดิษฐ์ของดิฉันทำมาในรูปแบบที่ผิดไม่เหมือนกับที่อาจารย์บอกไป และดิฉันนำกลับไปแก้ไขใหม่ แล้วจึงค่อยนำมาส่งอาจารย์  และจากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดีทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คือ เรื่องน้ำ ซึ่งดิฉันสรุปข้อความรู้ได้จากที่ดูวิดีทัศน์ดังนี้ คนมีน้ำในร่างกายร้อยละ 70% ในผลไม้จะมีน้ำเยอะกว่ามีถึง 90% ซึ่งมากกว่าคน คนสามารถขาดน้ำได้ 3 วันเท่านั้นขาดเยอะกว่านี้ก็จะตาย แต่อูฐที่อยู่ในทะเลขาดน้ำได้ 10 วัน เพราะมันสามารถเปลี่ยนไขมันที่อยู่บนโหนกให้กลายเป็นน้ำได้

คุณสมบัติของน้ำ มี 3 สถานะ คือ 
1.ของแข็ง
2.ของเหลง
3.ก๊าซ

ทราบไหมค่ะว่าฝนเกิดได้อย่างไร >> เมื่อพระอาทิตย์มากระทบกับน้ำที่เป็นของเหลวจะทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ และรวมตัวกันเป็นเมฆ เมื่อความดันอากาศเยอะเมฆก็จะลอยมารวมตัวกัน โดยเกิดจากการควบแน่นของอากาศ เมื่อรวมตัวกันแล้วก็กลายเป็นหยดน้ำที่เราเรียกว่า ฝน นั้นเองค่ะ

การระเหยของน้ำ >> น้ำจะระเหยเมื่อโดนความร้อน และจะระเหยเฉพาะผิวหน้าด้านบนของน้ำเท่านั้น เช่น นำน้ำมาใส่ในภาชนะที่ต่างกัน อันที่1 ใส่ในแก้ว อันที่2 ใส่จาน ทิ้งไว้ เราจะเห็นว่าน้ำที่อยู่ในจานจะระเหยหมดก่อนในแก้ว เพราะจานมีหน้าที่กว้างกว่าแก้ว หรือน้ำที่เป็นแอ่งต่างๆที่เราเห็นกันมักจะเหลือน้อยกว่าปกติ เพราะน้ำนั้นโดนความร้อนจากแสงดวงอาทิตย์ที่มากระทบที่น้ำ น้ำจึงระเหย และถ้าแอ่งน้ำนั้นมีหน้าที่กว้างก็จะระเหยได้เร็วกว่า แอ่งน้ำที่มีหน้ากว้างแค่นิดเดียว

ทราบไม่ค่ะว่าทำไหมเราจึงลอยน้ำในน้ำทะเลได้ดีกว่าน้ำจืดปกติ >> เพราะน้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำปกติเราจึงสมารถลอยตัวในน้ำทะเลได้นานกว่าน้ำปกติ และเกลือยังมีคุณสมบัติที่พิเศษด้วย คือ สามารถดูดความร้อนได้ และเมื่อถ้าดูดความร้อนหมดจะเหลือเฉพาะความเย็น

แรงดันของน้ำ >> ในแต่ละระดับความลึกของน้ำทะเลจะมีแรงดันที่ไม่เท่ากัน ถ้าอยู่ด้านบนของน้ำทะเลแรงกดดันของน้ำก็จะมีแรงน้อย แต่ถ้าน้ำทะเลที่ลึกจะมีแรงกดดันเยอะกว่า แรงกดดันของน้ำขึ้นอยู่กับความลึกตื้นของน้ำ หากระดับของน้ำที่มีความลึกตื้นเท่ากันแรงกดดันของน้ำก็จะเท่ากัน เช่น เมื่อเราดำน้ำทะเลลึกลงมากเท่าไรเราก็จะรู้สึกหูอือมากขึ้น เพราะน้ำทะเลที่ลึกมีแรงกดดันของน้ำเยอะกว่า การดำน้ำทะเลที่ตื้น

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มจัดบอร์ดเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และสิ่งเสพติด
2.อาจารย์ให้แต่ละคนประดิษฐ์ของเล่นที่ทำมาจากขวดน้ำมาให้อาจารย์ และของดิฉันได้ที่เป่าลูกโป่งที่ทำมาจากขวดน้ำ ดิฉันได้ประดิษฐ์คู่กับ นางสาววรรณวิศา ทวะกาญจน์ ค่ะ และนำมาส่งในสัปดาห์หน้า
บรรยากาศในการเรียนวันนี้ ครื้นแครง และสนุกสนาน ไม่เย็นมากนัก ความรู้สึกในการเรียน ดิฉันรู้สึกสนุกกับการที่อาจารย์ทดสอบของเล่นของเพื่อนๆแต่ละคน และรู้สึกว่าเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้นมาจากการดูวิดีทัศน์ เรื่องน้ำ ที่อาจารย์ให้ดู

บอร์ดเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และสิ่งเสพติด


ที่เป่าลูกโป่งทำมาจากขวดน้ำ

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8 09/08/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาคค่ะ

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7 02/08/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว คือ การทำโครงการ ลด ละ เลิก เหล้า และสิ่งเสพติด และส่งตารางตรวจบล็อกค่ะ นอกจากนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการทำโครงการเพิ่มเติมว่าต้องเขียนอย่างไร เพราะเวลาสอนเราก็จะต้องเขียนโครงการ เพื่อจะได้เขียนให้ถูกต้อง จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละคนในห้องออกมานำเสนองานการประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ของเล่นของดิฉัน คือ กล้องส่องทางไกล อาจารย์บอกว่าได้ แต่อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ให้นำกระดาษแก้วเป็นสีมาใส่คั่นไว้เวลามองเด็กจะได้เห็นการผสมสี

อุปกรณ์ในการทำ
  - แกนกระดาษทิชชู 2 อัน
  - กระดาษนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว
  - ไหมพรม
  - ถุงพลาสติกเหลือใช้
  - เทปกาว
  - กาว
  - กระดาษแก้วสีต่างๆ

วิธีการทำ
  1.นำกระดาษนิตยสารที่ตัด หรือจะฉีกแปะก็ได้ นำมาทากาว และมาติดบนแกนกระดาษทิชชูทั้ง 2 อัน
  2.ใช้มีดกรีดด้านบนของแกนกระดาษทิชชูให้ได้ 3 ช่อง และนำกระดาษที่ตัดแล้วใส่ลงไป จากนั้นนำถุงพลาสติกมาตัดให้เป็นวงกลม นำปิดด้านหน้าของแกนกระดาษทิชชู และนำเทปกาวติดอย่าให้หลุด
  3.เจาะรูข้างๆแกนกระดาษทิชชูอันละ 1 ข้าง ทั้ง 2 อัน ไว้สำหรับร้อยไหมพรม
  4.ทากาวข้างๆแกนกระดาษทิชชู และนำมาประกบกันให้แน่น
  5.นำไหมพรมรอยทั้ง 2 ข้าง ของแกนกระดาษทิชชูที่เจาะรูไว้ เพื่อเป็นสายสำหรับคล้องคอ นอกจากนี้เราอาจจะตกแต่งรอบๆแกนกระดาษทิชชูเพิ่มเติมได้ค่ะ

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
  1.เด็กได้รู้จักระยะทางไกล และ ใกล้ ในการใช้กล้องส่องทางไกลมองภาพต่างๆ
  2.เด็กได้รู้จักสีต่างๆ
  3.เด็กได้รู้จักการผสมสี เช่น สีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน ก็จะได้เป็นสีเขียว เป็นต้น
  4.เด็กสนุกสนานกับการเล่นกล้องส่องทางไกลในมุมบทบาทสมมุติ
  5.เด็กรู้จักอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
 
ข้อความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
         การมองเห็นสีต่างๆบนวัตถุ เกิดจากการผสมของแสงสี เช่นแสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง3สีได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว แสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมสีของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกัน จะเกิดเป็นสี ทุติยภูมิ ซึ่งสีทุติยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มของสีและความสว่างของแสง สาเหตุที่ทำให้เราเห็นสีของกล่องส่องทางไกลเป็นสีเหล่านั้นได้ เป็นเพราะแสงในอากาศเป็นสีขาว เมื่อแสงส่องมายังวัตถุนั้นๆเราก็จะเห็นเป็นสีเหล่านั้น   เกิดจากแสงกระทบกับวัตถุ และดูดสีอื่นเข้ามา แล้วแสงมากระทบที่ตาเรา

งานที่ได้รับมอบหมาย คือ อาจารย์ให้ไปเขียนวิธีการทำของเล่นของตนเอง และบอกประโยชน์ในการเล่นของเล่นนั้นมาด้วย ให้ใส่กระดาษมาส่ง พร้อมทั้งนำชิ้นงานที่สมบูรณ์มาส่งในสัปดาห์ถัดไป และให้โพสลงในบล็อกของตนเอง รวมทั้งให้ถ่ายรูปชิ้นงานใส่ลงบล็อกด้วยค่ะ
บรรยากาศในการเรียนวันนี้ บรรยากาศดี แต่มีปัญหาเรื่องไฟดับ หลอดไฟไม่ค่อยดีค่ะ ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ รู้สึกสนุก และตื่นเต้นในการนำเสนอขิ้นงานของตนเองค่ะ และได้เห็นชิ้นงานของเพื่อนๆในห้องที่แปลกใหม่ด้วยค่ะ