วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15 27/09/2554

     สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ  และเพื่อนๆทุกคน  สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์สอนว่า อนุบาลไม่ใช่การสอน แต่เป็นการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก โดยที่ครูต้องเป็นคนที่เตรียมการมาล่วงหน้าทุกอย่าง และการจะจัดประสบการณ์ได้นั้นต้องดูหลักสูตร ซึ่งในหลักสูตรมี 4 หัวข้อใหญ่ๆด้วยกันคือ     1.ตัวเรา  2.ธรรมชาติรอบตัว  3.สิ่งต่างๆรอบตัว  4.บุคคลและสถานที่  จากนั้นอาจารย์ให้สรุปรวบยอดพร้อมกันทุกคนว่าจากที่เรียนมาทั้งหมดในรายวิชานี้ นักศึกษาได้ความรู้อะไรไปบ้าง ซึ่งสรุปเป็น Mind Mapping ได้ดังนี้




จากนั้นอาจารย์บอกว่า ให้นักศึกษาทุกคนมาสอบในวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2554 เวลา 9.00 น. ห้อง233 และนัดตรวจบล็อกวันเสาร์หลังอาทิตย์ที่สอบเสร็จ และอาจารย์ก็ปิดคลอสในรายวิชานี้

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 20/09/2554

        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานการเขียนแผนที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว แล้วอาจารย์บอกว่าเพื่อนที่โพสว่า อาจารย์สอนเรื่อง Project ในครั้งที่แล้ว ให้เปลี่ยนเป็น การสอนเรื่องโครงการ  วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง การเขียนแผน และยกตัวอย่างการเขียนแผน เรื่อง ดอกไม้ให้ฟัง จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับ ประสบการณ์สำคัญ ว่าต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และฝึกให้เด็กได้สังเกต  จำแนก  ขนาด และที่สำคัญ (ต้องออกมาเป็นพฤติกรรม เด็กลงกระทำ)  และอาจารย์สนทนา พูดคุยร่วมกันเกี่ยวกับการเขียนแผนของแต่ละคน และให้คำแนะนำในการเขียนแผนในขั้นนำว่า  ให้สอนเป็นคำคล้องจอง หรือปริศนาคำทาย ก็ได้  และในช่องวัตถุประสงค์อาจารย์ให้คำแนะนำอีกว่า หากเขียนว่า สามารถ ให้เปลี่ยนเขียนว่า บอก เช่น เด็กสามารถบอกชื่อของดอกไม้ได้ เป็น เด็กบอกชื่อดอกไม้ได้ เพราะถ้าเราเขียนคำว่า สามารถ ก้อแปลว่าเด็กทำได้แล้ว  จากนั้นขณะที่อาจารย์สอน และเพื่อนๆนั่งเรียนอยู่ในห้องเรียนนั้นมีเพื่อนเป็นลมในห้อง อาจารย์ และเพื่อนๆตกใจ จึงช่วยกันพัดลม และเอายาดมให้เพื่อนดม จึงพาเพื่อนไปโรงพยาบาล อาจารย์จึงหยุดการเรียนไว้แค่นี้ก่อน

บรรยากาศในห้องวันนี้ ร้อนนิดหน่อย ไม่ค่อยครื้นเครง ไม่ค่อยมีเสียงหัวเราะ และยังมีเรื่องให้ตกใจ ความรู้สึกในวันนี้ ดิฉันรู้สึกว่าตกใจที่เพื่อนเป็นลม และรู้สึกว่าตัวดิฉันเอง และเพื่อนมึนๆ งง ไม่ค่อยมีความพร้อมในการเรียนมากนัก แต่อาจารย์ถามนักศึกษา ว่าไม่เข้าใจตรงไหน  อาจารย์สนใจนักศึกษา และพยายามสอน อธิบายนักศึกษาให้เข้าใจ ดิฉันรู้สึกดีใจที่อาจารย์ให้ความใส่ใจนักศึกษาทุกคนค่ะ

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 13/09/2554

สรุปเนื้อหาเป็น  Mind Mapping ดังนี้




        สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไป และบอกว่าการทำ Mind Mapping นั้น จะต้องมีสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก และเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย คือ
  1.สิ่งที่สัมพันธ์กับตัวเด็ก
  2.สิ่งที่มีผลกระทบกับเด็ก คือ
     - สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเด็ก  เช่น ได้รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง รูปทรง
     - บุคคลและสถานที่  เช่น ได้รู้จัก ครอบครัว ญาติ  รู้จักสถานที่ เช่น ชุมชน สังคม วัฒนธรรม
     - ธรรมชาติรอบตัว  เช่น ได้รู้จัก สิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต  คุณสมบัติ  การสำรวจ
     - สิ่งต่างๆรอบตัว เช่น ได้รู้จัก วัตถุสิ่งของ  เครื่องใช้ต่างๆ  ของเล่น
  3.ทำไมเนิ้อหาต้องเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก คือ
     - เด็กสามารถเข้าใจ
     - เป็นรูปธรรม จับต้องได้
     - เป็นประสบการณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และอาจารย์ได้ถามคำถามว่า สาระการเรียนรู้ คืออะไร อาจารย์ และเพื่อนๆได้สนทนา แสดงความคิดเห็นร่วมกันในห้อง และอาจารย์ได้บอกอีกว่าสิ่งที่สำคัญนั้นก่อนที่จะนึกถึงสังคม เราต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อน จากนั้นอาจารย์ได้สอนเรื่อง ทักษะทางวิทยาศาสตร์  อาจารย์ถามว่าการนำเข้าสู่บทเรียนแต่ละ 6 กิจกรรมหลักมีกิจกรรมอะไรบ้าง เพื่อนๆได้แสดงความคิดเห็นดังนี้

การบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์ และสาระวิทยาศาสตร์
   1. เคลื่อนไหวและจังหวะ
   2. ศิลปะสร้างสรรค์
   3. เกมการศึกษา เช่น ภาพเรียงลำดับ จับคู่ภาพกับเงา ร็อดโต้
   4. เล่นเสรี เช่น เล่นมุมต่างๆ มุมบทบาทสมมุติ
   5. กลางแจ้ง  เช่น เล่นน้ำ  เล่นทราย
   6. เสริมประสบการณ์
   อาจารย์ถามนักศึกษาว่า กิจกรรมไหนที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ และได้พูดถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  1. ตั้งสมมุติฐาน
  2. ปฏิบัติ หรือ การสังเกต ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  3. เก็บข้อมูล
  4. บันทึกผล
  5. สรุป เพื่อดูที่สมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่
จากนั้น อาจารย์ได้พูดถึงการทำหน่วยในการเขียนแผน ว่า แต่ละวันมีอะไรบ้าง จะเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  - วันจันทร์ จะต้องพูดเกี่ยวกับตัวตน ลักษณะ
  - วันอังคาร  เกี่ยวกับ ที่มา
  - วันพุธ  เกี่ยวกับ  ประโยชน์
  - วันพฤหัสบดี เกี่ยวกับ  โทษ
  - วันศุกร์  เกี่ยวกับ  การดูแลรักษา
และอาจารย์ยกตัวอย่างการเขียนแผน เรื่อง เห็ด ให้นักศึกษาดู พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผน

งานที่ได้รับมอบหมาย  อาจารย์ให้เขียนแผนเป็นรายบุคคล และนำมาส่งในคาบสัปดาห์ถัดไป
บรรยากาศในวันนี้   ไม่ร้อนมากนัก อากาศเย็นพอเหมาะรู้สึกสบาย ความรู้สึกในการเรียนวันนี้ ดิฉันรู้สึกว่าได้ความรู้เกี่ยวกับการทำ Mind Mipping มากขึ้น และได้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนค่ะ อีกทั้งดิฉันยังสนุกกับการเรียนในวันนี้ด้วยค่ะ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 06/09/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว คือ คิดหน่วย และการเขียนกิจกรรมในแต่ละวัน  แต่มีปัญหานิดหน่อยในการส่งงานครั้งนี้ คือ เพื่อนๆอาจจะไม่เข้าใจคำสั่งที่อาจารย์ได้สั่งไป จึงทำให้งานแต่ละกลุ่มที่นำมาส่งนั้นไม่เหมือนกัน โดยคำสั่งแท้จริงแล้ว อาจารย์ให้ทำงานการเขียนกิจกรรมออกมาในรูปแบบของ Mind Mapping  และกลุ่มไหนที่ไม่มี Mind Mapping  ก็ให้ทำเพิ่มเติมมาส่งในคาบถัดไปด้วย นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ที่จะได้ทั้งทักษะและความรู้ในกิจกรรมเดียวกันด้วย และอาจารย์ทบทวนเรื่องเดิมที่เรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ให้ทำ Mind Mapping แล้วคิดกิจกรรมเป็นกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ได้ถาม เรื่องการบ้านที่ฝากถามไปว่า สาระสำคัญในหลักสูตรมีอะไรบ้าง แต่ไม่มีใครตอบ และอาจารย์ได้ถามต่ออีกว่า หลักสูตรหมายถึงอะไร แต่ไม่มีใครตอบเหมือนเดิม อาจารย์จึงให้ไปเขียนหลักสูตรปฐมวัยมา ว่ามีอะไรบ้าง   จากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดีทัศน์ เรื่อง "ความลับของแสง" ดิฉันสรุปเป็นองค์ความรู้ได้ว่า แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นในทะเล แต่แสงเดินทางเร็วมาก เดินทางได้เร็วถึง 300,000 กม./นาที เมื่อไม่มีแสงเราก็จะมองไม่เห็น แต่การที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้นั้น เพราะแสงมาส่องกับวัตถุต่างๆ และแสงสะท้อนมากระทบตาเรา ตาเป็นเลนส์ในการรับแสง เราจึงเห็นสิ่งต่างๆได้  แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียว และไม่มีทิศทาง

วัตถุของแสงมี 3 ชนิด คือ
  1. แสงที่ทะลุผ่านไปได้ เรียกว่า วัตถุโปรงแสง
  2. แสงสะท้อนมาที่ตัวเรา เรียกว่า วัตถุโปรงใส
  3. แสงที่ไม่สามารถผ่านได้ เรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน เหล็ก รวมถึงตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสงด้วย  สาเหตุที่สามารถแยกเป็นวัตถุโปรงแสงได้ เพราะ เราจะมองเห็นภาพบางส่วนแต่มองไม่ชัด  สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุโปรงใส เพราะ วัตถุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมด ที่เรามองเห็นได้ทุกส่วน เช่น กระจก สาเหตุที่แยกเป็นวัตถุทึบแสง เพราะ แสงไม่สามารถส่องผ่านวัตถุเหล่านั้นได้ นอกจากนั้นแล้วตาของเราจะมีรูเล็กๆ ที่เรียกว่า รู้รับแสง

การสะท้อนของแสง>> เมื่อเรานำตุ๊กตามาวางไว้หน้ากระจก ที่มีกระจก 2 บานต่อกัน เราจะเห็นภาพตุ๊กตา 2 ตัว แต่ถ้าเราเลื่อนกระจกให้เข้ามาอีกก็จะเห็นตุ๊กตาเพิ่มขึ้นมาอีกหลายๆตัว

การหักเหของแสง>> แสงจะเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อ แสงเดินทางผ่านวัตถุคนละชนิดกันจึงทำให้แสงนั้นหักแห

แสงสีขาว>> แสงสีขาวที่เรามองเห็นนั้นจะมีทั้งหมด 7 สี ประกอบด้วย สีแดง เหลือง แสด เขียว คราม ม่วง และสีน้ำเงิน สาเหตุที่ทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำมีหลายสี นั่นก็เพราะแสงในอากาศเป็นสีขาว เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศจึงทำให้เกิดรุ้งกินน้ำที่มีสีต่างๆอย่างที่เราเห็น  และถ้าเรามองใบไม้ เราจะเห็นใบไม้มีสีเขียว เกิดจากแสงกระทบกับวัตถุ และดูดสีอื่นเข้ามา แล้วแสงมากระทบที่ตาเรา จึงทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว

เงากับแสงเป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ >> ถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงา แต่ถ้าเราส่งไฟไปหลายๆด้านจะทำให้เกิดเงาหลายๆด้าน

งานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ให้เขียน "หลักสูตรปฐมวัย" ว่ามีอะไรบ้าง แล้วนำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป
บรรยากาศในวันนี้  อากาศไม่หนาวมากนัก  บรรยากาศการเรียนการสอนค่อนข้างตึงเครียดมาก ดิฉันรู้สึกเข้าใจเรื่อง แสง มากขึ้น และไม่ค่อยสนุกกับการเรียน เนื้อหาที่นำมาสอนสามารถเข้าใจได้ง่าย และมีประโยชน์ต่อดิฉันมากค่ะ  ดิฉันรู้สึกง่วงนอนนิดหน่อยค่ะ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 30/08/2554

          สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ให้ส่งงานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ให้กลับไปแก้ไข/ปรับปรุงนำมาส่ง และให้ส่งโครงการที่ให้ไปทำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ทำโครงการ เรื่อง "รถ" จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายสาเหตุที่ให้ทำของเล่นจากขวดน้ำว่า ขวดสามารถหาได้ง่าย  เป็นของเหลือใช้  และเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา นอกจากนั้นแล้วขวดยังสามารถขาย เพื่อสร้างเป็นรายได้ ได้อีกด้วย  ขวดน้ำเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาสตร์ คือ สิ่งรอบตัวสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม   อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การทำโครงการ  พูดถึงเรื่องการทำโครงการของแต่ละกลุ่ม     และได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ ประกอบไปด้วย สาระ/ความรู้  ประสบการณ์สำคัญ  วิธีการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการของเด็ก  จากนั้นสอนการเขียนหน่วย  และอาจารย์ให้เอากระดาษคนละ 1 แผ่น มาแยกเป็น Mind Mapping ในเรื่องของหน่วยที่เราจะสอน และให้เขียนเปรียบเทียบกับการเขียนชื่อเพื่อนที่เราชอบ 1 คน เพื่อที่เราจะเขียนหน่วยแต่ละหน่วยที่จะสอนได้ง่ายขึ้น

งานที่ได้รับมอบหมาย 
    1.อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้เขียนแผน 5 วัน คิดกิจกรรมที่จะสอนเด็ก โดยให้เขียนชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละวันด้วย และนำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป
    2.อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปลงบล็อก
บรรยากาศในวันนี้ เย็นสบายดี ไม่ร้อน และรู้สึกว่า สนุกกับการเรียนในวันนี้ค่ะ


สรุปโทรทัศน์ครู  เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการ อ.วรนาท รักสกุลไทย, อ.ศศกมล บูรัชฏะ   http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=777
          การสอนแบบ Project จะตอบสนองความสามารถที่หลากหลายของเด็กได้ เด็กแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน เช่น เด็กบางคนจะถนัดทางด้านศิลปะ บางคนถนัดทางด้านดนตรี บางคนถนัดเรื่องมิติสัมพันธ์ บางคนเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ และเด็กบางคนไม่รู้ศักยภาพของตนเอง หรือความสามารถของตนเอง ซึ่ง Project จะทำให้เด็กนั้นได้แสดงความสามารถของตนเองออกมาได้ การสอนแบบ Project Approach นั้นหมายถึงการสอนแบบลุ่มลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจนที่เด็กสนใจเป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อย หรือพร้อมกันทั้งห้องก็สามารถทำได้
 การสอนแบบ Project  มี 5 ลักษณะ คือ
    1.การอภิปราย
    2.การนำเสนอประสบการณ์เดิม
    3.การทำงานภาคสนาม
    4.การสืบค้น
    5.การจัดแสดง
การสอนทุกครั้งครูต้องออกแบบกิจกรรม และกิจกรรมต้องจัดจากง่ายไปหายาก ไม่ซับซ้อน ทุกกิจกรรมที่ออกแบบต้องดูความสนใจของเด็กเป็นหลักด้วย การเลือกหัวเรื่องที่จะเรียนต้องอยู่ระหว่างความร่วมมือระหว่างเด็ก ครู และที่บ้านด้วย และในกรณีที่ทำกันทั้งห้อง หัวข้อที่เลือกไม่ใช่เฉพาะมาจากการโหวตของเด็กเท่านั้น แต่จะต้องดูว่าเด็กมีความต้องการ เป็นความสนใจของเด็กเสียส่วนใหญ่ ครูจะต้องมีส่วนร่วมคือ ครูต้องศึกษาก่อนว่าเรื่องที่เรียนนั้นสอดคล้องกับหลักสูตรหรือไม่ และต้องมีแหล่งเรียนรู้ที่ให้เด็กสามารถสืบค้นได้ รวมทั้งมีวิทยากรให้ความรู้แก่เด็ก มีสถานที่ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 3-4 วัน  เพื่อที่จะได้เรื่องที่เด็กอยากเรียนจริงๆ  และจากเลือหัวข้อแล้วครูต้องรวบรวมข้อมูลว่าสิ่งที่เด็กรู้แล้วมีอะไรบ้าง นั้นคือการทบทวนประสบการณ์เดิมของเด็ก และการเล่าประสบการณ์เดิมนั้นต้องต้องเกิดขึ้นกับเด็กจรองๆ  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ครูควรเปิดโอกาสหลากหลายให้เด็กได้เล่าประสบการณ์เดิม สิ่งสุดท้ายในระยะเริ่มต้น คือ การตั้งประเด็นคำถาม  และครูต้องนำคำถามของเด็กมาวิเคราะห์ด้วย ต้องมีการเตรียมการว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง และเปิดโอกาสให้เด็กได้เสนอกิจกรรมด้วย  ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา คือการคิดค้นว่าจะไขคำตอบได้อย่างไร เช่น มีการสังเกต และมีการทำจดหมายถึงพ่อแม่ของเด็กด้วย ว่าลูกเขากำลังเรียนเรื่องอะไรอยู่ และบอกให้ผู้ปกครองสนับสนุนการเรียนของลูกด้วย และการเรียนแบบProject Approach นั้นไม่ใช่เรียนเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่เด็กจะต้องมีการไปเรียนรู้ในห้องเรียน เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงมากที่สุด เกิดทักษะการแสวงหาความรู้ และฝึกให้เด็กได้คิด ได้วางแผน ได้ตัดสินใจ คิดเป็น และที่สำคัญเด็กได้ลงมือผ่านการกระทำจริงๆ  ระยะที่ 3 การจัดนิทรรศการ คือ การจัดกิจกรรมต่างๆที่เด็กเรียนมาทั้งหมดมาจัดนิทรรศการ นอกจากนี้ครูต้องเข้าใจบทบาทตัวเองในการสอน Project ว่า ครูคือผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ และครูต้องคิดว่าตัวเองทำได้ และทำตัวให้สนุกกับกิจกรรมที่สอนด้วย

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10 23/08/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับหลักการจัดกิจกรรม และเรื่องการทำโครงการแบบ Project การทำโครงการนั้นมี 3 ระยะ
ระยะที่1>>ระยะเริ่มต้น
ระยะที่2>>ศึกษาแบบลุ่มลึก
ระยะที่3>>นำเสนอ

ถามเด็กว่าอยากรู้เรื่องอะไร มีวิธีการดังนี้
     1.ให้เด็กเสนอความคิด แล้วค่อยเขียนกำกับด้านหลังว่าเป็นของใคร
     2.หรือบอกเป็นเรื่องเดียวแล้วจึงค่อยแตกเป็น Mind Mapping ให้หลากหลายเพื่อให้เด็กได้ตอบหรือเสนอความคิดว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเรื่องที่เด็กอยากรู้เป็นเรื่อง นาฬิกา มีองค์ประกอบหัวข้อต่างๆๆไว้ดังนี้ ทำมาจากไหน ,ลักษณะเป็นอย่างไร ,นาฬิกาเสียไปหาใคร ,ประโยชน์ ,วัสดุ ,สี ,มีโล,โก้อะไรบ้าง ,ประเภท ขนาด ,รูปทรง ,ราคา เป็นต้น และดิฉันได้สรุปเป็น Mind Mapping ไว้ดังนี้



 
ตัวอย่างการเขียนการทำโครงการเรื่อง กระเป๋า
ระยะที่1>>ระยะเริ่มต้น (อยากรู้เรื่องอะไร)
1.มีสีอะไรบ้าง                         6.ทำจากอะไร
2.มีรูปทรงอย่างไร                   7.มีประเภทไหนบ้าง
3.มีขนาด                                8.ถ้าขาดแล้วทำอย่างไร
4.ราคาเท่าไหร่                       9.วัสดุที่ใช้
5.มีขายที่ไหน                        10.ประโยชน์

ระยะที่2>>ศึกษาแบบลุ่มลึก (สถานที่)
1.ห้องสมุด-Internet
2.สถานที่
3.ร้านซ่อมกระเป๋า
4.ช่างซ่อมกระเป๋า
5.โรงงานผลิต

ระยะที่3>>นำเสนอ
1.จัดนิทรรศการ >>เด็กได้อธิบาย แนะนำ
2.งานประดิษฐ์กระเป๋า >>เด็กอธิบาย และได้ให้ผู้เข้าชมร่วมประดิษฐ์
3.โล้โก้ >>เด็กอธิบายว่ามียี่ห้ออะไรบ้าง
4.แผนที่การเดินทาง >>เด็กได้เรียนรู้เรื่องเส้นทาง ทิศทาง สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์
5.ส่วนประกอบของกระเป๋า >>เด็กอธิบายว่าส่วนประกอบของกระเป๋านั้นมีอะไรบ้าง
6.ซ่อมกระป๋าได้อย่างไร >>เด็กอธิบายว่าซ่อมแซมวิธีไหนได้บ้าง
7.นำเสนอเพลงกระเป๋า >>เด็กแต่งเพลงเกี่ยวกับกระเป๋า
8.นิทานกระเป๋า >>มีการเล่านิทานเกี่ยวกับกระป๋าและตั้งชื่อเรื่องนิทาน เช่น กระเป๋าเพื่อนรัก

จากนั้นอาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งไป คือ ประดิษฐ์ของเล่นที่ทำจากขวดน้ำ และอาจารย์ให้นำกลับไปแก้ไขเพิ่ม แล้วอาจารย์ตรวจบอร์ดของแต่ละกลุ่ม เรื่อง การรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ และสิ่งเสพติด กลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้ทำ เรื่อง บุหรี่

งานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ5คน ทำ Project 1 เรื่อง แต่ไม่ต้องลงกับเด็ก และนำมาส่งในสัปดาห์หน้า
บรรยากาศในวันนี้ ไม่ร้อนมากนัก บรรยากาศดี ครื้นเครง วันนี้ดิฉันรู้สึกสนุกสนานกับการเรียน และยังได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการทำโครงการที่ดิฉันเข้าใจอีกด้วย และสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9 16/08/2554

         สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพ และเพื่อนๆทุกคน สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับของเล่นของแต่ละคน และอาจารย์ทดสอบความแข็งแรงของเล่นของแต่ละคนว่าแข็งแรงหรือเปล่า อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ต้องทำให้แข็งแรงเพราะว่าเด็กเขาจะเล่นแรงๆและเดี๋ยวมันจะพังง่าย  และอาจารย์ยังแนะนำอีกว่าให้มีหลายรูปแบบ เพื่อเด็กจะได้สงสัยและถาม  นอกจากนี้บอกว่าต้องมีข้อความรู้ในบล็อก พร้อมทั้งต้องมีคำอธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันด้วย งานประดิษฐ์ของดิฉันทำมาในรูปแบบที่ผิดไม่เหมือนกับที่อาจารย์บอกไป และดิฉันนำกลับไปแก้ไขใหม่ แล้วจึงค่อยนำมาส่งอาจารย์  และจากนั้นอาจารย์ให้ดูวิดีทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คือ เรื่องน้ำ ซึ่งดิฉันสรุปข้อความรู้ได้จากที่ดูวิดีทัศน์ดังนี้ คนมีน้ำในร่างกายร้อยละ 70% ในผลไม้จะมีน้ำเยอะกว่ามีถึง 90% ซึ่งมากกว่าคน คนสามารถขาดน้ำได้ 3 วันเท่านั้นขาดเยอะกว่านี้ก็จะตาย แต่อูฐที่อยู่ในทะเลขาดน้ำได้ 10 วัน เพราะมันสามารถเปลี่ยนไขมันที่อยู่บนโหนกให้กลายเป็นน้ำได้

คุณสมบัติของน้ำ มี 3 สถานะ คือ 
1.ของแข็ง
2.ของเหลง
3.ก๊าซ

ทราบไหมค่ะว่าฝนเกิดได้อย่างไร >> เมื่อพระอาทิตย์มากระทบกับน้ำที่เป็นของเหลวจะทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ และรวมตัวกันเป็นเมฆ เมื่อความดันอากาศเยอะเมฆก็จะลอยมารวมตัวกัน โดยเกิดจากการควบแน่นของอากาศ เมื่อรวมตัวกันแล้วก็กลายเป็นหยดน้ำที่เราเรียกว่า ฝน นั้นเองค่ะ

การระเหยของน้ำ >> น้ำจะระเหยเมื่อโดนความร้อน และจะระเหยเฉพาะผิวหน้าด้านบนของน้ำเท่านั้น เช่น นำน้ำมาใส่ในภาชนะที่ต่างกัน อันที่1 ใส่ในแก้ว อันที่2 ใส่จาน ทิ้งไว้ เราจะเห็นว่าน้ำที่อยู่ในจานจะระเหยหมดก่อนในแก้ว เพราะจานมีหน้าที่กว้างกว่าแก้ว หรือน้ำที่เป็นแอ่งต่างๆที่เราเห็นกันมักจะเหลือน้อยกว่าปกติ เพราะน้ำนั้นโดนความร้อนจากแสงดวงอาทิตย์ที่มากระทบที่น้ำ น้ำจึงระเหย และถ้าแอ่งน้ำนั้นมีหน้าที่กว้างก็จะระเหยได้เร็วกว่า แอ่งน้ำที่มีหน้ากว้างแค่นิดเดียว

ทราบไม่ค่ะว่าทำไหมเราจึงลอยน้ำในน้ำทะเลได้ดีกว่าน้ำจืดปกติ >> เพราะน้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำปกติเราจึงสมารถลอยตัวในน้ำทะเลได้นานกว่าน้ำปกติ และเกลือยังมีคุณสมบัติที่พิเศษด้วย คือ สามารถดูดความร้อนได้ และเมื่อถ้าดูดความร้อนหมดจะเหลือเฉพาะความเย็น

แรงดันของน้ำ >> ในแต่ละระดับความลึกของน้ำทะเลจะมีแรงดันที่ไม่เท่ากัน ถ้าอยู่ด้านบนของน้ำทะเลแรงกดดันของน้ำก็จะมีแรงน้อย แต่ถ้าน้ำทะเลที่ลึกจะมีแรงกดดันเยอะกว่า แรงกดดันของน้ำขึ้นอยู่กับความลึกตื้นของน้ำ หากระดับของน้ำที่มีความลึกตื้นเท่ากันแรงกดดันของน้ำก็จะเท่ากัน เช่น เมื่อเราดำน้ำทะเลลึกลงมากเท่าไรเราก็จะรู้สึกหูอือมากขึ้น เพราะน้ำทะเลที่ลึกมีแรงกดดันของน้ำเยอะกว่า การดำน้ำทะเลที่ตื้น

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มจัดบอร์ดเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และสิ่งเสพติด
2.อาจารย์ให้แต่ละคนประดิษฐ์ของเล่นที่ทำมาจากขวดน้ำมาให้อาจารย์ และของดิฉันได้ที่เป่าลูกโป่งที่ทำมาจากขวดน้ำ ดิฉันได้ประดิษฐ์คู่กับ นางสาววรรณวิศา ทวะกาญจน์ ค่ะ และนำมาส่งในสัปดาห์หน้า
บรรยากาศในการเรียนวันนี้ ครื้นแครง และสนุกสนาน ไม่เย็นมากนัก ความรู้สึกในการเรียน ดิฉันรู้สึกสนุกกับการที่อาจารย์ทดสอบของเล่นของเพื่อนๆแต่ละคน และรู้สึกว่าเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้นมาจากการดูวิดีทัศน์ เรื่องน้ำ ที่อาจารย์ให้ดู

บอร์ดเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และสิ่งเสพติด


ที่เป่าลูกโป่งทำมาจากขวดน้ำ